top of page
โรคต้อกระจก

ต้อกระจก (Cataracts) เป็นโรคที่เลนส์แก้วตามีความขุ่นมัวจนกระทบต่อการมองเห็น เมื่อจอประสาทตารับภาพได้ไม่ชัดเจน ผู้ป่วยจึงมองเห็นภาพต่าง ๆ อย่างพร่ามัว

สาเหตุของโรคต้อกระจก

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดต้อกระจกคือ อายุที่เพิ่มขึ้น พบว่าต้อกระจกสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนไม่ช้าก็เร็ว แต่จะพบมากในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่แล้วประมาณ 80% ต้อกระจกจะเกิดจากภาวะเสื่อมตามวัยหรือจากวัยชรา โดยผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปจะเป็นต้อกระจกกันแทบทุกราย

อาการของโรคต้อกระจก

ผู้ป่วยโรคต้อกระจกมักมีอาการดังนี้

  1. มองเห็นได้ไม่ชัดเจน ภาพเบลอ หรือพร่ามัว

  2. ต้องใช้แสงสว่างมากขึ้นในการอ่านหนังสือหรือกิจกรรมที่ต้องใช้สายตา

  3. ดวงตามองเห็นในที่ที่มีแสงสลัวได้ดีกว่าแสงจ้า แพ้แสงจ้า

  4. มองเห็นเป็นภาพซ้อน

  5. มองภาพเป็นสีเหลืองหรือสีซีดจางลง

  6. มองเห็นเป็นวงแหวนรอบแสงไฟหรือหลอดไฟ

  7. ผู้ป่วยอาจเข้าใจว่าความพร่ามัวเกิดจากระดับสายตาที่มีปัญหา เช่น สายตาสั้น และนำไปสู่การเปลี่ยนแว่นตาหรือคอนแท็คเลนส์บ่อย ๆ

ผ่าตัด, ต้อกระจก, ฟรี, รักษา, ผ่าตา, ผ่าต้อ, ลอกตา, ลอกต้อ, ลอกต้อกระจก, ศูนย์ต้อกระจก ข้าราชการ ศุภมิตร

การรักษาโรคต้อกระจก

โรคต้อกระจกในระยะแรก สามารถบรรเทาได้ด้วยการตัดแว่นสายตาใหม่ สวมแว่นกันแดด หรือการใช้เลนส์ขยาย หรือ ใช้ยาหยอดตา สามารถช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น

เมื่อต้อกระจกเริ่มกระทบต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ควรทำการผ่าตัดนำเลนส์แก้วตาที่ขุ่นออกแล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่ ซึ่งวิธีการผ่าตัดที่เป็นที่นิยมที่สุดในปัจจุบันคือ การสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง Phacoemulsification ซึ่งเป็นการเจาะรูเล็กๆแล้วใช้เครื่อง ultrasound สลายเลนส์และดูดออก หลังจากเอาเลนส์ที่ขุ่นมัวออกแล้ว แพทย์จะใส่เลนส์เทียมเข้าไปแทนในถุงหุ้มเลนส์เดิม (เลนส์เทียมสามารถใช้งานได้ตลอดชีวิต) แผลผ่าตัดก็มีขนาดเล็กมาก จึงไม่ต้องเย็บแผล ใช้เวลาในการผ่าตัดน้อย

ขั้นตอนการผ่าตัดต้อกระจก

  1. ให้ยาระงับความเจ็บปวดด้วยการ ฉีดยาชาเฉพาะที่ หรือเพียงใช้วิธีการหยอดยาชา ทั้งนี้ขึ้นอยู่ดุลยพินิจของแพทย์

  2. ใช้คลื่นเสียงความถี่สูงจะส่งผ่านพลังงานไปยังเครื่องมือซึ่งเป็นท่อเล็ก ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร ช่วยสลายต้อออก และดูดเอาแก้วตาที่เป็นต้อกระจกที่สลายแล้วออกมาจนหมด

  3. สอดแก้วตาเทียมลงไปแทนที่

 

การสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง Phacoemulsification โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที เมื่อเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเรียบร้อย แพทย์จะเฝ้าดูอาการว่าปัญหาแทรกซ้อนใด ๆ หรือไม่

การดูแลรักษาดวงตาหลังการผ่าตัด

หลังการผ่าตัดผู้ป่วยต้องเพิ่มความระมัดระวังเรื่องความสะอาดของดวงตา ระมัดระวังการกระทบกระเทือนที่ดวงตา รวมถึงหยอดยาตามที่จักษุแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด โดยการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดรักษาโรคต้อกระจกมีดังนี้

 

  1. เวลาอาบน้ำให้ระมัดระวังไม่ให้ดวงตาโดนน้ำเพราะอาจส่งผลให้เกิดอาการติดเชื้อ (ควรใช้วิธีเช็ดหน้าโดยใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดบิดให้แห้งแทนการล้างด้วยน้ำ)

  2. ควรหลีกเลี่ยงการทำงานหนัก การยกของหนักหรือกระเทือนมาก การออกกำลังกายอย่างหนัก

  3. ระมัดระวังไม่ให้ไอ, จาม หรือเบ่งแรงๆ เพราะทำให้เกิดการกระทบกระเทือนกับแผลผ่าตัด

  4. ห้ามนอนตะแคงทับข้างที่ผ่าตัด

  5. ให้ปิดฝาครอบตาไว เพื่อป้องกันไม่ให้คนไข้เผลอขยี้ตาของตนเอง

  6. ควรสวมแว่นกันแดดทุกครั้งเมื่อออกไปในที่แสงจ้า และเพื่อป้องกันฝุ่นเเข้าตา

  7. ควรไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง จนกว่าแผลจะหายดีและปลอดภัยแล้ว

หากมีอาการเหล่านี้หลังการผ่าตัดควรมาพบแพทย์ทันที

“ถึงแม้การรักษาโรคต้อกระจกด้วย คลื่นเสียงความถี่สูง Phacoemulsification นี้จะเป็นวิธีรักษาที่ปลอดภัยมากอย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจจะเกิดอาการอักเสบได้ด้วยปัจจัยที่แตกต่างกันออกไป เช่น สภาพแวดล้อมที่ผู้ป่วยอยู่หลังการรักษา หรือการดูแลทำความสะอาดที่ไม่ดีพอ ดังนั้นหากผู้ป่วยรู้สึกปวดตามาก ตาแดง เคืองตา มีขี้ตามาก หนังตาบวมผิดปกติการมองเห็นขุ่นมัวหรือบิดเบี้ยว เลือดออกภายในดวงตา หากมีอาการเหล่านี้ แนะนำให้ควรรีบไปพบจักษุแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดทันที”

bottom of page